วันเสาร์

Thailand Cyber University

ชื่อสาระการเรียนรู้ : การรักษาผู้ป่วยที่เกิดอุบัติเหตุกับฟันและกระดูกเบ้าฟัน 
(Treatment of the dentoalveolar traumatized patient ) 



อุบัติการณ์ของการเกิดอุบัติเหตุกับฟันและกระดูกเบ้าฟันเพิ่มขึ้นอย่างมาก การจัดการผู้ป่วยที่เหมาะสมมีหลายวิธี สาระการเรียนรู้ในบทเรียนนี้ จะจำแนกและอธิบายชนิดของอุบัติเหตุซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นก่อนการให้การวินิจฉัยโรคและให้การรักษา วิธีการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง และวิธีการให้การรักษาที่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนบทเรียนนี้ได้มีความรู้ ความเข้าใจและได้เห็นตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา โดยบทเรียนนี้จะใช้เป็นบทเรียนเสริมสำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ และเป็นบทเรียนสำหรับทันตแพทย์และแพทย์ได้ศึกษาเพิ่มเติม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสม โดยที่ไม่ต้องสูญเสียฟันซึ่งจำเป็นสำหรับการบดเคี้ยวและความสวยงาม

ชื่อรายวิชาที่สามารถนำสาระการเรียนรู้ไปใช้ได้

1. กระบวนวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก
2. กระบวนวิชาวิทยาเอ็นโดดอนท์
3. กระบวนวิชาทันตกรรมบูรณะ




ผู้พัฒนาเนื้อหา และ ออกแบบบทเรียน (Instructional Designer)
  

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุกิจ เกษรศรี
ลักษณะของบทเรียน
  • เป็นลักษณะการบรรยาย ( Lecture online)โดยใช้ภาพนิ่ง
  • เนื้อหานำมาจากเอกสารประกอบการสอนและภาพการรักษาผู้ป่วยในคลินิก นำมาผลิตเป็นสื่อผสมพร้อมใส่เสียงประกอบ ร่วมกับทำแบบทดสอบเป็นระบบ inter active เพื่อให้ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมในบทเรียน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  • ได้บทเรียนที่ใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษาได้อย่างเต็มที่
  • ทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สามารถใช้ร่วมกันในกระบวนวิชาที่เกี่ยวข้องสำหรับการเรียนการสอนในคณะทันตแพทยศาสตร์ของทุกมหาวิทยาลัย


แหล่งงบประมาณ :
โครงการนี้ได้รับงบประมาณจาก สำนักงานการอุดมศึกษาแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2547



ภาษากับเสียง

 เสียงในภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างกัน ซึ่งการที่เสียงในภาษาจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเสียง สำหรับอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ฟัน ลิ้น เพดานปาก ลิ้นไก่ กล่องเสียง หลอดลม และปอด
  เสียงในภาษาไทย มี ๓ ชนิด คือ
๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้
๒.) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร และ
๓.) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี
          ๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้นด้วยอวัยวะส่วนใดในปาก แล้วเกิดเสียงก้องกังวาน และออกเสียงได้ยาวนาน ซึ่งเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น
- สระเดี่ยว มีจำนวน ๑๘ เสียง โดยสระเดี่ยว แบ่งออกเป็น
-สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ
-สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ
- สระประสม มีจำนวน ๖ เสียง โดยสระประสม แบ่งออกเป็น
-สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่
เอียะ เกิดจากการประสมของ สระอิ + สระอะ
เอือะ เกิดจากการประสมของ สระอึ + สระอะ
อัวะ เกิดจากการประสมของ สระอุ + สระอะ
สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่
เอีย เกิดจากการประสมของ สระอี + สระอา
เอือ เกิดจากการประสมของ สระอื + สระอา
อัว เกิดจากการประสมของ สระอู + สระอา


วิชาหลักการวัดและประเมินผลการศึกษา


จุดมุ่งหมายทางการศึกษาแสดงถึงเป้าหมายหรือสิ่งที่คาดหวังจากการจัดการศึกษา ซึ่งจะเป็นการชี้ให้เห็นแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อก่อให้เกิดผลตามเป้าหมายที่ต้องการ ตลอดจนสามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนของผู้เรียนรู้ว่าได้บรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด การประเมินผลอย่างเป็นระบบจะช่วยให้ข้อมูลย้อนกลับ(Feedback)ถึงจุดมุ่งหมายทางการศึกษาว่ามีความเหมาะสมและเป็นไปได้เพียงใด การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้ดำเนินงานไปตามแผนหรือไม่และมีประสิทธิภาพเพียงใด ตลอดจนมีผลลัพธ์และผลกระทบอะไรเกิดขึ้นและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายทางการศึกษามากน้อยเพียงใด องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันตลอดเวลาในการจัดการศึกษา




วิชากฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม



1. ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว บางฉบับนานกว่า 1 ศตวรรษ ได้แก่
            พระราชบัญญัติรักษาคลอง ร.. 112
            พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.. 2456
            พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.. 2484
2. แต่กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทยมีในช่วงแรกดังกล่าวไม่ใช่กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์โดยตรงในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หากแต่เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์หลักในเรื่องอื่น ซึ่งมีบทบัญญัติเรื่องสิ่งแวดล้อมรวมอยู่ด้วย เช่น
            พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.. 2456 เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อมุ่งวางระเบียบการสัญจรทางน้ำ แต่มีบทบัญญัติบางมาตราที่ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งกรวด หิน ดิน ทราย หรือสิ่งปฏิกูลอย่างอื่นลงในแม่น้ำ ลำคลอง ทางน้ำ หรือพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.. 2484 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจัดการการใช้ประโยชน์ของป่าไม้ เช่นการให้สัมปทานฯลฯ แต่มีบทบัญญัติบางมาตราที่ห้ามตัดไม้บางชนิด ซึ่งบทบัญญัติเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
3. ต่อมาได้มีการบัญญัติกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ พ.. 2518 คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.. 2518



วิชาภาษาไทยธุรกิจ



  การสื่อสารเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความระมัดระวังมาก เพราะมีโอกาสที่จะเข้าใจผิดได้ง่าย เนื่องจากเป็นกิจกรรมร่วมระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร ต้องเป็นความรับผิดชอบของคนทั้ง 2 ฝ่าย หากฝ่ายใดไม่มีความรับผิดชอบโอกาสจะเกิดความผิดพลาดก็มีได้
             อย่างไรก็ตามกระบวนการสื่อสารจำเป็นต้องมีวิธีและกระบวนการที่พิจารณาอย่างละเอียด การสื่อสารไม่ใช่แค่การระบายความคิดที่เรามีอยู่เท่านั้น เพราะไม่ใช่แค่การถ่ายทอดเหมือนการถ่ายทอดดนตรี ไม่มีการคำนึงถึงการรับรู้ของผู้รับสาร  ถ้าเป็นการสื่อสารแล้วจะต้องมีการรับรู้ของผู้รับสารเกิดขึ้นด้วย  ไม่ใช่การส่งออกจากผู้ส่งสารอย่างเดียว  การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ การสื่อสารที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับกระบวนการการรับสารของผู้รับสาร
                    การปรับปรุงทักษะการสื่อสารของตนเองถือเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาประสิทธิภาพในกระบวนการสื่อสาร  นั่นคือต้องมีการปรับปรุงความสามารถในการฟัง  การสังเกต  การอ่านและการมองก่อนที่จะไปปรับปรุง การพูดหรือการเขียน